นายสิทธิกร ดิเรกสุนทร กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เปิดเผยว่า ผลดำเนินงานค้ำประกันสินเชื่อ 9 เดือน (ม.ค.-ก.ย. 66) อนุมัติค้ำรวม 98,640 ล้านบาท สร้างมูลค่าเพิ่มช่วยเอสเอ็มอีเข้าถึงแหล่งทุน 80,717 ราย โดยในจำนวนนี้ 79% เป็นผู้ประกอบการไมโครที่ บสย. ค้ำประกัน วงเงินไม่เกิน 1 ล้านบาท สามารถสร้างสินเชื่อในระบบ 108,915 ล้านบาท คิดเป็น 1.1 เท่า ของยอดค้ำประกันสินเชื่อ สร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจ 407,383 ล้านบาท คิดเป็น 4.13 เท่า ของยอดค้ำประกัน รักษาการจ้างงาน 748,647 ตำแหน่ง
สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมค้ำประกันสูงสุด 3 ลำดับแรก ดังนี้ 1.ภาคการบริการ วงเงินค้ำ 25,310 ล้านบาท ประกอบด้วย ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง 42% ธุรกิจภัตตาคาร ร้านอาหาร 11% ธุรกิจขนส่ง 10% โรงแรมหอพัก 4% บริการท่องเที่ยว 1% และบริการอื่น ๆ 32% 2.ภาคเกษตรกรรม วงเงินค้ำ 8,833 ล้านบาท ประกอบด้วย กลุ่มธุรกิจการค้าสินค้าเกษตรอื่น ๆ 24% ธุรกิจชา กาแฟ เกลือ 20% การค้าส่งผักผลไม้ 19% ปศุสัตว์ 19% การค้าส่งข้าว 7% และประมง 12% 3.การผลิตสินค้าและการค้าอื่น ๆ วงเงิน 8,616 ล้านบาท ประกอบด้วย กลุ่มธุรกิจการค้าวัสดุก่อสร้าง 35% การค้าปลีกแผงลอยและตลาดสด 20% การค้าอื่น ๆ 18% การผลิตอื่น ๆ 14% การค้าของเก่า 6% และการค้าโทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์ 6%
นายสิทธิกร กล่าวว่า บสยคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. ยังประสบผลสำเร็จ การดำเนินมาตรการช่วยลูกหนี้แก้หนี้ยั่งยืน ภายใต้มาตรการ บสย. พร้อมช่วย โดยมีเอสเอ็มอีได้รับการประนอมหนี้ 11,609 ราย คิดเป็น 99% ของเอสเอ็มอีเข้าร่วมโครงการ 4,559 ล้านบาท ซึ่งเน้นแก้หนี้อย่างยั่งยืน ผ่านมาตรการ 3 สี แก้หนี้ยั่งยืน คิดดอกเบี้ย 0% ผ่อนนาน 7 ปี ผ่อนค่างวดเริ่มต้นที่ 500 บาท และตัดต้นก่อนตัดดอก อีกทั้ง บสย. ยังให้คำปรึกษาทางการเงิน เอสเอ็มอี ฟรี ผ่าน บสย. เอฟ เอ เซ็นเตอร์ เพื่อส่งเสริมความรู้ทางการเงิน มีผู้เข้าร่วมโครงการ 15,066 ราย
ผลดำเนินงาน บสย. ในรอบ 9 เดือน ประสบผลสำเร็จด้วยดี ตามเป้าหมายช่วยผู้ประกอบการเข้าถึงแหล่งทุน โดย บสยคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. ค้ำประกัน ที่ง่าย สะดวก รวดเร็ว ภายใต้วิสัยทัศน์ เป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงเงินทุนและโอกาสให้แก่เอสเอ็มอี เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน พร้อมการขับเคลื่อนสู่นวัตกรรมองค์กรด้วยดิจิทัล ควบคู่ไปกับการพัฒนาช่องทางเชื่อมโยงผู้ประกอบการผ่านโครงการต่าง ๆ อาทิ โครงการ ทรัช บิส ของธนาคารแห่งประเทศไทย และกลุ่มสถาบันการเงิน ตอบโจทย์แนวทางการพัฒนาการเข้าถึงสินเชื่อ บนแพลตฟอร์มทางการเงิน ดิจิทัล เลนดิง ควบคู่ไปกับแผนพัฒนา ทีซีจี ดิจิทัล เครดิต การันตีของ บสย. ตลอดปี 66