การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจหยุดชะงักลง กระทบการจ้างงาน รายได้ครัวเรือน ขาดสภาพคล่องและนำมาสู่การก่อหนี้เพิ่มขึ้น โดยในปี 2564 สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GPD สูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ 94.7%
กรุงไทย เปิดกู้เงินก้อน ผ่านแอปฯ “เป๋าตัง” ช่วยเข้าถึงเงินทุน
ภาวะสังคมไทยไตรมาส 2 จ้างงานดีขึ้น 1.7% สาขาโรงแรม ภัตตาคาร ก่อสร้าง
ผ่านไป 2 ปี โควิด-19 เริ่มคลี่คลายแต่ "หนี้ครัวเรือน" ยังสูงอยู่
โดยสถานการณ์หนี้ครัวเรือนจาก เครดิตบูโร ไตรมาส 1 ปี 2566 อยู่ที่ 12.9 ล้านล้านบาท ในระบบ 83.1 ล้านบัญชี ซึ่งมีพฤติกรรมการก่อหนี้ที่แตกต่างกันไปตามแต่ช่วงอายุ
ลูกหนี้แรงงานตอนต้นและสูงอายุ ต้องจับตาพิเศษ
คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
โดยกลุ่มวัยแรงงานตอนต้นหรือกลุ่มเจนวาย มีพฤติกรรมใช้จ่ายไปกับทัศนคติว่า “ของมันต้องมี” ขณะที่กลุ่มผู้สูงอายุ พบว่า มีหนี้เสียมีการขยายตัวสูงกว่า กลุ่มอื่น ส่วนหนึ่งเกิดจากการมีทักษะทางการเงินต่ำสะท้อนให้เห็นว่า คนแต่ละช่วงวัยและหนี้แต่ละประเภทต้องการ แนวทางแก้ไขปัญหาที่แตกต่างกัน
กลุ่มวัยทำงานอายุตั้งแต่กว่า 50 ปีขึ้นไปมูลค่าหนี้สูงสุด
การก่อหนี้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงโควิด-19 โดยส่วนใหญ่เป็นหนี้เพื่อซื้อที่อยู่อาศัยซึ่งมีการกู้เพิ่มขึ้นมากหนี้เพื่อประกอบ ธุรกิจการเกษตร หนี้เช่าซื้อมอเตอร์ไซด์ และหนี้ที่ไม่สามารถจัดอยู่ในกลุ่มอื่นๆ
โดยหนี้ประเภทนี้กลุ่มอายุ 50–59 ปี เป็นกลุ่มที่มีการก่อหนี้คิดเป็นมูลค่าสูงที่สุด นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาพฤติกรรมการชำระหนี้ยังพบว่า หลังโควิด-19 กลุ่มอายุ50 – 59 ปี และกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป มีหนี้เสียเพิ่มขึ้นจากปี 2562
อายุน้อยกว่า 30 ปีหนี้เสียที่เพิ่มขึ้นเสี่ยงถูก "ยึดรถ"
ขณะที่พฤติกรรมการชำระหนี้ พบว่า กลุ่มอายุน้อยกว่า 30 ปีมีปัญหาหนี้เสียที่เพิ่มขึ้นหลังช่วง โควิด-19 โดยมีมูลค่า NPL ในปี 2565 สูงกว่าปี 2562 ทั้งที่ภาครัฐจะมีมาตรการช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง สะท้อนถึง ความเปราะบางของลูกหนี้กลุ่มนี้ที่รายได้อาจยังไม่ฟื้นตัว
นอกจากนี้ กลุ่มอายุน้อยกว่า 30 ปียังเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะถูกยึดรถ เนื่องจากมีสัดส่วน SML ต่อสินเชื่อรวมสูงที่สุดเมื่อเทียบกับอายุอื่น
ส่วนกลุ่มอายุน้อยกว่า 40 ปี ยังมีหนี้เสียในสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องในระดับสูงอีกด้วย