คำว่า ‘กฐิน’ หมายถึง ไม้สะดึง ซึ่งมีลักษณะเป็นกรอบไม้ ใช้สำหรับขึงผ้าให้ตึง เพื่อความสะดวกในการเย็บผ้า เป็นวิธีการเย็บผ้าในสมัยก่อนนั่นเอง เพราะฉะนั้น การทำจีวรในสมัยโบราณจึงเรียกว่าเป็นผ้ากฐิน ซึ่งนิยมเรียกกันจนถึงปัจจุบัน
และคำว่า ‘ทอดกฐิน’ คือการนำผ้ากฐินไปวางไว้ต่อหน้าพระสงฆ์อย่างน้อยห้ารูป และจะมีพระสงฆ์หนึ่งรูปที่ได้รับมอบหมาย เป็นผู้รับกฐินนั้น
ส่องพิธีกรรมสำคัญการทอดกฐิน
ในการทอดกฐินนั้นจะมีพิธีกรรมสำคัญอยู่ 2 พิธีด้วยกัน นั่นคือ
-
การถวายผ้ากฐิน
เมื่อพระสงฆ์มาพร้อมกันแล้ว เจ้าภาพจะทำการอุ้มผ้ากฐินมาไว้ตรงหน้าพระประธาน ตั้งนะโม 3 จบ แล้วจึงหันมาทางพระสงฆ์ พร้อมกล่าวคำถวายผ้ากฐิน 3 จบเช่นกัน เมื่อพระสงฆ์กล่าวรับ เจ้าภาพก็จะประเคนผ้าไตรกฐิน และเครื่องปัจจัยต่าง ๆ หลังจากนั้นพระสงฆ์จะลงความเห็นว่าพระรูปใดมีจีวรเก่า ก็จะให้ถวายให้พระรูปนั้น จากนั้นพระสงฆ์ก็จะสวดอนุโมทนา และเจ้าภาพก็จะกรวดน้ำเป็นอันเสร็จพิธี
คำถวายผ้ากฐิน (กล่าวนะโม 3 จบแล้วตามด้วย)
อิมัง ภันเต สะปะริวารัง กะฐินะจีวะ ระทุสสัง สังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุ โน ภันเต สังโฆ อิมัง สะปะริวารัง กะฐินะจีวะระทุสสัง ปะฏิคัณหาตุ ปะฏิคคะเหตะวา จะ อิมินา ทุสเสนะ กะฐินัง อัตถะระตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ
สวดซ้ำเป็นครั้งที่ 2 โดยเพิ่มคำว่า “ทุติยัมปิ” นำหน้า แล้วสวดซ้ำเหมือนเดิม สวดซ้ำเป็นครั้งที่สามโดยเพิ่มคำว่า “ตะติยัมปิ” นำหน้า แล้วสวดซ้ำเหมือนเดิม ตามด้วยคำแปล
ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอน้อมถวาย ผ้ากฐินพร้อมทั้งบริวารนี้แก่พระสงฆ์ ขอพระสงฆ์จงรับ ผ้ากฐินกับทั้งบริวารนี้ของข้าพเจ้าทั้งหลาย รับแล้วจงกรานกฐินด้วยผ้านี้เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนานเทอญ
-
พิธีกรานกฐิน
เป็นพิธีฝ่ายสงฆ์โดยเฉพาะ คือพระสงฆ์ผู้ได้รับมอบผ้ากฐินนั้น จะนำผ้ากฐินไปทำเป็นไตรจีวรผืนใดผืนหนึ่ง เย็บ ย้อมแห้ง เรียบร้อยดีแล้ว จึงเคาะระฆัง เพื่อประชุมกันในโรงพระอุโบสถ พระสงฆ์ผู้รับผ้ากฐิน จะถอนผ้าเก่าอธิษฐานผ้าใหม่ที่ตนได้รับนั้นเข้าชุดเป็นไตรจีวร เสร็จแล้วพระสงฆ์รูปหนึ่งจะขึ้นสู่ธรรมาสน์แสดงพระธรรมเทศนา เพื่อกล่าวถึงเรื่องประวัติกฐิน
แต่เดิมนั้น ‘กรานกฐิน’ หมายถึง การขึงไม้สะดึง โดยพระสงฆ์ซึ่งจำพรรษาครบ 3 เดือนในวัดเดียวกัน (ต้องมีจำนวน 5 รูปขึ้นไป) ประชุมกันในอุโบสถ พร้อมใจกันยกผ้ากฐินให้แก่พระสงฆ์ที่ทำกิจตั้งแต่ซัก กะตัด เย็บ ย้อมให้เสร็จในวันนั้น ทำพินทุกัปปะอธิษฐานเป็นจีวรครองผืนใดผืนหนึ่งในไตรจีวร แล้วบอกแก่พระสงฆ์ผู้ยกผ้าให้ เพื่ออนุโมทนา และพระสงฆ์นั้นได้อนุโมทนาแล้ว เรียกว่า กรานกฐิน
ซึ่งผ้ากฐินปัจจุบันเป็นจีวรสำเร็จรูป กิจที่จะต้อง ซัก กะ ตัด เย็บย้อมก็ไม่มีแล้ว
อานิสงส์ยิ่งใหญ่จากการทอดกฐิน
อย่างที่บอกว่าทอดกฐินเป็นการทำบุญครั้งใหญ่หลังออกพรรษา และยังจัดเพียงปีละ 1 ครั้งเท่านั้น จึงนับเป็นการทำบุญที่จะได้อานิสงส์แรงอีกหนึ่งประเพณี
ผู้ที่ทำบุญทอดกฐิน จะได้รับอานิสงส์ ดังนี้
-
ทำให้เป็นผู้มั่งคั่งมีทรัพย์สินมาก และประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานได้โดยง่าย
-
ทำให้เป็นผู้มีจิตใจแช่มชื่น บริสุทธิ์ และผ่องใสอยู่เสมอ
-
ทำให้เป็นผู้มีจิตใจตั้งมั่น เป็นสมาธิและเข้าถึงธรรมได้โดยง่าย
-
ได้ชื่อว่าเป็นผู้สามารถใช้ทรัพย์สมบัติให้เกิดเป็นบุญกุศลติดตัวไปในภพเบื้องหน้าได้อย่างเต็มที่
-
ทำให้เป็นคนรูปงาม ผิวพรรณงาม เป็นที่รักของคนทั่วไป
-
ทำให้เป็นผู้มีชื่อเสียง เกียรติคุณ น่ายกย่องสรรเสริญ เป็นที่ตั้งแห่งศรัทธาน่าเคารพนับถือ
นอกจากชาวพุทธที่หลั่งไหลเข้ามาทำบุญกฐินจะได้อานิสงส์จากการทอดกฐินแล้ว ฝ่ายพระสงฆ์ก็จะได้รับอานิสงส์เช่นเดียวกัน ได้แก่
-
พระสงฆ์สามารถออกไปนอกวัดได้โดยไม่ต้องบอกลาภิกษุด้วยกัน
-
พระสงฆ์ขาดจากผ้าสังฆาฏิ หรือผืนใดผืนหนึ่งในไตรจีวรได้ เอาจีวรไปไม่ครบสำรับได้
-
พระสงฆ์สามารถฉันอาหารเป็นคณะโภชน์ได้
-
พระสงฆ์สามารถเก็บจีวรได้ตามปรารถนา
-
พระสงฆ์ได้ลาภต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
ขั้นตอนการทอดกฐิน
อยากทอดกฐิน ต้องเริ่มจากตรงไหน!?
-
จองกฐิน
หากเป็นวัดราษฎร์ทั่วไป เมื่อต้องการจองกฐินที่วัดไหน ในช่วงพรรษาต้องไปมนัสการสมภารเจ้าวัดนั้น เพื่อแจ้งว่าต้องการขอทอดกฐิน แล้วเขียนหนังสือปิดประกาศไว้ ณ วัดนั้นเพื่อให้รู้กันอย่างทั่วถึง
-
เตรียมการ
เมื่อจองกฐินแล้ว และถึงช่วงออกพรรษา ต้องกำหนดวันทอดกฐินให้ชัดเจน ก่อนแจ้งให้เจ้าวัดท่านทราบ หลังจากนั้นสมภารเจ้าวัดก็จะบอกต่อกับชาวบ้าน ว่าวันดังกล่าวจะเป็นวันทอดกฐิน ให้ร่วมแรงร่วมใจกันจัดหาอาหารไว้เลี้ยงพระ และเลี้ยงผู้มาในที่มาในงานกฐิน นอกจากนี้ ต้องเตรียมจัดหาเครื่องผ้ากฐิน คือไตรจีวร พร้อมทั้งเครื่องบริขารอื่น ๆ ตามกำลังศรัทธา
-
วันงาน
เนื่องจากเป็นการทำบุญใหญ่ ส่วนมากจะจัดงานถึง 2 วัน วันแรกตั้งองค์พระกฐินที่บ้านของเจ้าภาพหรือที่วัดก็ได้ กลางคืนมักจะมีมหรสพครึกครื้นสนุกสนาน ญาติพี่น้อง และมิตรสหายก็มักจะมาร่วมอนุโมทนา เช้าวันต่อมาเป็นพิธีที่วัด มักจะมีการแห่ด้วยขบวนรถหรือเดินขบวนกันไป มีแตรวงหรืออื่น ๆ เพื่อความสนุกสนานร่าเริงสมเป็นงานบุญ
ทอดกฐิน กับทอดผ้าป่า ต่างกันอย่างไร
เนื่องจากเป็นพิธีกรรมที่คล้ายกัน จนหลายคนอาจสับสน แท้ที่จริงแล้วมีความแตกต่างที่ชัดเจนกันอยู่ นั่นคือ
‘ทอดกฐิน’ คือ งานบุญใหญ่หลังออกพรรษา 1 เดือน ทำแค่ปีละหนึ่งครั้ง จำนวนพระสงฆ์ต้องไม่ต่ำกว่า 5 รูป วัดสามารถรับกฐินได้เพียงครั้งเดียว
‘ทอดผ้าป่า’ คือ งานบุญอย่างหนึ่ง คล้ายการทอดกฐิน แต่ไม่กำหนดช่วงเวลา และสามารถทำได้ตลอดทั้งปี ไม่จำกัดจำนวนพระสงฆ์ แต่ละวัดจะจัดพิธีกี่ครั้งก็ได้
สรุป ทำไมการทอดกฐินจึงเป็นบุญใหญ่
-
เพราะเป็นสังฆทาน มิได้เฉพาะเจาะจงแก่พระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่งคำพูดจาก ปั่นสล็อตแตกทุกเกม
-
เพราะเป็นการถวายทานตามกาล เรียกว่า “กาลทาน” ตามพระธรรมวินัยกำหนดกาลไว้ คือ หนึ่งเดือนหลังจากออกพรรษาแล้ว ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 โดยแต่ละวัดสามารถรับกฐินได้ปีละหนึ่งครั้ง และจะต้องมีพระสงฆ์อยู่จำพรรษาครบ 5 รูป หากวัดใดมีพระสงฆ์อยู่จำพรรษาไม่ถึง 5 รูป จะต้องนิมนต์พระสงฆ์จากวัดอื่น ๆ มาร่วมพิธีกรรมให้ครบ 5 รูปเป็นอย่างน้อย เพื่อให้ครบองค์สงฆ์ตามพระวินัยบัญญัติ
-
เพราะได้รับอานิสงส์ทั้งสองฝ่าย คือ อานิสงส์สำหรับพระสงฆ์ผู้รับกฐิน และอานิสงส์สำหรับผู้ถวายกฐิน
ขอบคุณข้อมูล: พระธรรมขันธ์, Sila5.com, ธรรมะไทย, อาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์, GoToKnow
กางปฏิทินจ่ายเงินเดือนข้าราชการ ค่าจ้างลูกจ้างประจำ บำนาญ ปี 2566
"ธี่หยด" คืออะไร เปิดที่มาภาพยนตร์สยองขวัญ ดูเต็มเรื่อง 26 ต.ค.นี้
วันหยุดพฤศจิกายน 2566 เช็กปฏิทินวันหยุดราชการ-วันสำคัญ