รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) แจ้งว่า ขณะนี้รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงสุราษฎร์ธานี-ชุมทางหาดใหญ่-สงขลา ซึ่งเป็น 1 ใน 7 เส้นทางของโครงการรถไฟทางคู่ ระยะ (เฟส) ที่ 2 ได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (คชก.) แล้ว อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) อย่างไรก็ตาม เส้นทางดังกล่าวอยู่ลำดับที่ 4 ที่ รฟท.เตรียมเสนอให้กระทรวงคมนาคม และคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา คาดว่าจะเสนอได้ในปี 66 ทั้งนี้ ลำดับที่ 1 ได้แก่ ช่วงขอนแก่น-หนองคาย 2คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี และ 3คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. ช่วงปากน้ำโพ-เด่นชัย
รายงานข่าวแจ้งต่อว่า รถไฟทางคู่ ช่วงสุราษฎร์ธานี-ชุมทางหาดใหญ่-สงขลา มีระยะทาง 321 กิโลเมตร (กม.) วงเงิน 57,375 ล้านบาท แบ่งเป็น ค่าเวนคืน ชดเชยสิ่งปลูกสร้าง 126 ล้านบาท, ค่าก่อสร้าง 56,114 ล้านบาท และค่าที่ปรึกษาควบคุมงานและบริหารโครงการ 1,135 ล้านบาท เส้นทางนี้ผ่านพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี (จุดเริ่มต้น) ระยะทาง 65 กม. ผ่านพื้นที่ 4 อำเภอ 11 ตำบล, จังหวัดนครศรีธรรมราช ระยะทาง 119 กม. ผ่านพื้นที่ 7 อำเภอ 30 ตำบล, จังหวัดพัทลุง ระยะทาง 77 กม. ผ่านพื้นที่ 6 อำเภอ 23 ตำบล และจังหวัดสงขลา (จุดสิ้นสุด) ระยะทาง 60 กม. ผ่านพื้นที่ 5 อำเภอ 16 ตำบล มีสถานีรวม 65 สถานี รูปแบบทาง มีทั้งยกระดับ ระดับดิน และอุโมงค์
รายงานข่าวแจ้งอีกว่า การออกแบบแต่ละสถานีนั้น จะมีแนวคิดและทัศนียภาพอาคารสถานีที่แตกต่างกันไปตามเอกลักษณ์ท้องถิ่น อาทิ สถานีชุมทางหาดใหญ่ นำเอกลักษณ์เด่นของอาคารสถานีเดิมมาพัฒนา และใช้เป็นแกนหลักของอาคาร ส่วนอาคารหลักสะท้อนมาจากท่วงท่ารำมโนราห์ และได้นำลวดลายของชุดรำมโนราห์ มาเป็นแนวทางการออกแบบอาคารด้วย ส่วนสถานีสงขลาใหม่ นำสถาปัตยกรรมชิโน-ยูโรเปี้ยน มาใช้ในการออกแบบ เป็นต้น
รายงานข่าวแจ้งต่อว่า เมื่อก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงสุราษฎร์ธานี-ชุมทางหาดใหญ่-สงขลา แล้วเสร็จ และเปิดให้บริการ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการขนส่งทางรถไฟ มีความปลอดภัย เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนา และกระจายความเจริญสู่ภูมิภาคและท้องถิ่น รวมทั้งประหยัดเวลา และค่าใช้จ่าย ตลอดจนเชื่อมโยงโครงข่ายการบริหารจัดการขนส่งมวลชน สินค้า และบริการ ทั้งในพื้นที่ชนบท เมือง และระหว่างประเทศเข้าด้วยกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตามคาดการณ์ว่าปีแรกของการเปิดให้บริการ จะมีผู้โดยสารประมาณ 7.7 ล้านคน-เที่ยวต่อปี จากนั้น 10 ปีถัดไป จะมีผู้โดยสาร 10.4 ล้านคน และอีก 20 ปีถัดไป จะมีผู้โดยสารประมาณ 16.1 ล้านคน
รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า ขณะนี้ปัญหาใหญ่ของการดำเนินโครงการนี้คือ ช่วงเส้นทางหาดใหญ่-สงขลา ระยะทางประมาณ 29 กม. ซึ่งเป็นช่วงที่ รฟท.หยุดเดินรถไฟมาตั้งแต่ปี 22 มีผู้บุกรุกกระจุกตัวอยู่อาศัยเป็นกลุ่มใหญ่มากประมาณ 6 พันครัวเรือน ถือเป็นกลุ่มผู้บุกรุกที่มากที่สุดตั้งแต่ รฟท.ดำเนินโครงการต่างๆ มา ปัจจุบัน รฟท. ได้ตั้งคณะทำงานขึ้นมา เพื่อเข้าไปดำเนินการเจรจาอย่างต่อเนื่องแล้ว ทั้งนี้หากมีการก่อสร้างช่วงเส้นทางนี้ได้ สถานีสงขลา (แห่งใหม่) จะเป็นสถาปัตยกรรมที่มีความสวยงาม และทรงคุณค่าอย่างยิ่ง.